เป็นสารอาหารเข้มข้นชนิดน้ำเป็นโอลิโกเมอร์ธรรมชาติ เป็นชีวภาพสกัดจากธรรมชาติ ซึ่งมีองค์ประกอบสำคัญในรูปของ
D-glucosamine พบได้ในธรรมชาติ โดยเป็นองค์ประกอบอยู่ในเปลือกของสัตว์พวก กุ้ง ปู แมลง และเชื้อรา เป็นสารธรรมชาติที่มีลักษณะโดดเด่นเฉพาะตัว คือ ที่เป็นวัสดุชีวภาพ (Biometerials) ย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ มีความปลอดภัยในการนำมาใช้กับมนุษย์ ไม่เกิดผลเสียและปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อม ไม่เกิดการแพ้ ไม่ไวไฟและไม่เป็นพิษ (non-phytotoxic) ต่อพืชใช้เป็นสารปรับสภาพดินและน้ำ มีส่วนช่วยเร่งการเจริญเติบโตของพืช เพิ่มผลผลิตพืชทุกชนิด เหมาะสำหรับนาข้าว พืชไร่ พืชผัก ไม้ผล ไม้ยืนต้น กล้วยไม้ ไม้ดอกไม้ประดับใช้เคลือบเมล็ดพันธุ์พืช และเป็นสารกระตุ้นการเจริญเติบโตของพืชได้ทุกชนิด
คุณประโยชน์ ช.ช้าง ไคโตซาน
นำไปใช้ผสมน้ำฉีดทางใบ 20ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร
1. มีส่วนช่วย แก้ไขปัญหาต้นโทรม เนื่องจากพืชสูญเสียอาหารอย่างรวดเร็ว
2. มีส่วนช่วยแก้ไข แก้ปัญหาเรื่องการแย่งอาหารในพืช ในกรณีที่มีการแตกใบอ่อน ในขณะติดดอกออกผล
3. มีส่วนช่วย สร้างความพร้อมในการออกดอกติดผล ดอกสมบูรณ์ แข็งแรง ป้องกันการหลุดร่วงของดอกและผลเพิ่มคุณภาพของผล ลดการบิดเบี้ยว เพิ่มความหวานและให้สีสันที่น่ากิน
4. มีส่วนช่วย เพิ่มอัตราการงอกของเมล็ด ต้นกล้าแข็งแรงสมบูรณ์ ลดความเครียดเนื่องจากธาตุอาหารไม่สมดุล แร่ธาตุเป็นพิษ ขาดน้ำ ฤดูแล้ง หรืออากาศร้อนจัดหนาวจัด
5. ส่งเสริมการแบ่งเซลล์และขยายขนาดเซลล์ของพืช ทำให้ดอกใหญ่ขึ้น ปริมาณดอกมากผลใหญ่ขึ้น
ช.ช้าง ไคโตซาน
สารปรับปรุงดินและน้ำ มีส่วนช่วยให้รากพืชแข็งแรง
ยับยั้งเชื้อรา สร้างภูมิต้านทานโรค และแมลงศัตรูพืช
สกัดจากธรรมชาติ
ทำไมต้องใช้ไคโตซานกับพืช
1.มีส่วนช่วยยับยั้งและสร้างความต้านทานโรคให้กับพืช
การยับยั้งเชื้อสาเหตุของโรคพืช ได้แก่ เชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรีย และเชื้อราบางชนิด โดยไคโตซานจะซึมผ่านเข้าทางผิวใบ ลำต้นพืช ช่วยยับยั้งการเกิดโรคพืช
ในกรณีที่เกิดเชื้อโรคพืชแล้ว ยังรักษาโรคพืช และสร้างความต้านทานโรคให้กับพืชที่ไม่ติดเชื้อโดยไคโตซาน มีคุณสมบัติที่สามารถออกฤทธิ์เป็นตัวกระตุ้นต่อพืชได้ ช่วยกระตุ้นระบบป้องกันตัวเองของพืช ทำให้พืชผลิตเอนไซม์ และสารเคมีเพื่อป้องกันตนเอง พืชจึงลดโอกาสที่จะถูกคุกคาม โดยเชื้อต่างๆ สาเหตุของโรคพืชได้ ดังนั้นเกษตรกรจึงควรใช้ไคโตซาน ขณะที่พืชยังเล็กหรือตั้งแต่เริ่มเพาะปลูก ไคโตซานจะช่วยเคลือบ เมล็ดพันธุ์หรือแช่เมล็ดพันธุ์ก่อนปลูก
มีส่วนช่วย ป้องกันเชื้อราที่จะมาทำร้ายเมล็ดพันธุ์ กระตุ้นการงอกของรากของเมล็ดพันธุ์ได้ดี เร่งรากยาวทำให้พืชสามารถกินปุ๋ยได้มากขึ้น
ดังนั้นจึงสามารถลดการใส่ปุ๋ยลงได้ เมื่อพืชกินปุ๋ยได้มากขึ้น ก็ขยายท่อลำเลียงพืชได้ดีขึ้น ลำต้นใหญ่ขึ้น พืชจึงสมบูรณ์ทำให้เพิ่มผลผลิต ทั้งผลผลิตที่ได้ก็มีคุณภาพดี ป้องกันและกำจัดโรคพืช กระตุ้นให้พืชสร้างสารป้องกันโรคพืช เช่น ไฟโตอะเล็กซิน ไคติเนส รวมทั้ง ยับยั้ง RNA ของเชื้อรา ไม่ให้สามารถขยายพันธุ์ได้ พืชจึงแข็งแรง (90% โรคพืชเกิดจากเชื้อรา) ประหยัดยาฆ่าแมลง เชื้อรา โรคพืชเพราะไม่มีแมลงมากินต้นพืช ทำให้สามารถผลิตสารลิกนิน เพื่อ ป้องกันเชื้อราได้ด้วยตนเอง พืชจะแข็งแรง มีภูมิต้านทานต่อโรคได้ด้วยตนเอง พืชจะแข็งแรงมีภูมิต้านทานต่อโรค
2. ทำให้พืชเกิดการสร้างความต้านทานโรคและแมลงศัตรูพืช
ไคโตซาน จะกระตุ้นให้มีการผลิตสารลิกนินและแทนนินของพืชมากขึ้น พืชสามารถป้องกันตัวเองจากการกัด ดูด ทำลายของแมลงศัตรูพืช จะสังเกตว่าต้นพืชที่ได้รับ ไคโตซาน จะมีแวกซ์เคลือบที่ผิวใบ ซึ่งปกติแล้วพืชจะสร้างสารเหล่านี้ขึ้นมาเพื่อป้องกันตัวจากแมลง ศัตรูพืชและโรคพืชต่าง ๆ แต่ในต้นพืชที่ไม่สมบูรณ์มากพอ การสร้างสารแวกซ์เหล่านี้จะบางตามไปด้วย ดังนั้นเมื่อถูกแมลงเข้าทำลาย จึงเสียหายได้ง่าย และในทิศทางเดียวกันเมื่อแวกซ์ของพืช
ถูกทำลายเป็นโอกาสให้เชื้อราหรือแบคทีเรียโรคพืชเข้าทำลายซ้ำอีกครั้ง
การฉีดพ่นสารไคโตซานจึงไปช่วยในการเคลือบใบ ผลและดอกที่ถูกแมลงศัตรูพืชทำลาย ทำให้เชื้อราหรือแบคทีเรียโรคพืช ไม่สามารถเข้าไปย่อยสลายเซลพืชได้ และไคโตซาน จะมีกลิ่นเฉพาะตัว ซึ่งเป็นกลิ่นที่แมลงปีกแข็ง ศัตรูพืชได้กลิ่นจะบินหนีไป เพราะได้กลิ่นเฉพาะของไคโตซาน แมลงที่กัดกินต้นพืชจะไข่ทิ้งไว้ เพื่อขยายพันธุ์ จึงทิ้งสาร ไคโตซาน ไว้เพื่อจับจองพื้นที่แมลง เมื่อได้กลิ่นจะบินหนีทันที เพราะคิดว่าพื้นที่บริเวณนี้มีแมลงมาจับจองพื้นที่แล้วนั่นเอง
3.สารเร่งการเจริญเติบโตของพืช
ไคโตซานถูกใช้เป็นสารเร่งการเจริญเติบโต ให้ผลเช่นเดียวกับฮอร์โมนเร่งราก ใช้กระตุ้นการงอกของกิ่งชำไม้ดอกและไม้ประดับต่าง ๆ โดยนำส่วนของพืชที่ต้องการชำแช่ในสารละลายเจือจางของไคโตซานประมาณ 2 ชั่วโมง ก่อนนำไปปักชำในวัสดุเพาะชำ การฉีดพ่นไคโตซานในนาข้าวส่งให้ผลผลิตข้าวมีปริมาณเพิ่มขึ้น 41.7 91.5% โดยขึ้นอยู่กับพื้นที่ที่ทำการเพาะปลูก และการใช้ไคโตซานฉีดพ่นกล้วยไม้ซึ่งมีผลเร่งการเจริญเติบโตของใบใหม่ ปริมาณไคโตซานที่เหมาะสมต่อการเพิ่มจำนวนดอกและกระตุ้นการเจริญเติบโตของใบ
4. ช่วยปรับค่าPHและเป็นประโยชน์ต่อจุลินทรีย์ในดิน
ช่วยเพิ่มปริมาณจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในดิน ไคโตซาน สามารถ ส่งเสริมการเพิ่มปริมาณจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในดิน เช่น เชื้อที่มีประโยชน์ต่อพืชทำให้เกิดการลดปริมาณของจุลินทรีย์ที่เป็นเชื้อโรคพืช ปรับค่า PH ของดินให้เป็นกลาง เป็นปุ๋ยให้แก่พืช พืชทุกชนิดที่ได้ใช้ ไคโตซาน จะทำให้พืชสามารถตรึงเอาไนโตรเจนนำมาใช้ได้ ถ้าเป็นเห็ดสามารถตรึงเอาคาร์บอนไดออกไซด์มาใช้ได้เป็นอย่างดี ดินที่เหมาะสมต่อการเพาะปลูกพืชจะต้องมีค่า pH 5.5-8.5 การใช้ ไคโตซานอย่างต่อเนื่อง จะทำให้ค่า pH ของดินเท่ากับ 6-7 ซึ่งเป็นกลางที่สุด จึงเหมาะสมต่อการเพาะปลูกพืชอย่างยิ่ง รวมทั้งคุณสมบัติที่ช่วยสลายเคมีในดิน อันต่อเนื่องจากใช้ปุ๋ยเคมีอย่างยาวนาน รวมทั้งช่วยเพิ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในดิน รวมทั้งลดปริมาณจุลินทรีย์ที่เป็นโรคพืช
5.ประโยชน์ของการใช้ไคโตซานหลังการเก็บเกี่ยวพืชผล
พืชที่ใช้ ไคโตซานทุกชนิด จะเก็บไว้ได้ยาวนานกว่าพืชที่ไม่ได้ใช้ (พิสูจน์ได้) โดยการรักษาคุณภาพผลผลิต เพราะว่าพืชที่ใช้ไคโตซาน มีการเคลือบบนผิวผักผลไม้เป็นลักษณะฟิล์มบางใส ๆ ปราศจากสีและกลิ่น ทนทานต่อสภาวะกรดได้ดี
การใช้ ช.ช้าง โตซาน
20 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร